อาหาร fastfood

อาหาร fastfood

อาหาร fastfood (ฟาสต์ฟู้ด) หรืออาหารจานด่วนเป็นที่นิยมของคนทุกเพศทุกวัย เพราะรสชาติถูกปากแถมยังกินได้ไวสบายกระเป๋าอีกด้วย เนื่องจากเกี่ยวข้องกับอาหารแปรรูปและอาหารแช่แข็ง จากนั้นอุ่นและเสิร์ฟให้ลูกค้าทันที อย่างไรก็ตาม อาหารจานด่วนบางชนิดที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยที่หลายคนไม่รู้ตัว

อาหารจานด่วน เช่น แฮมเบอร์เกอร์ ฮอทดอก ไก่ทอด และเฟรนช์ฟรายส์ อาหารอร่อยๆ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว เช่น น้ำหนักเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตสูงและน้ำตาลในเลือด โรคหัวใจ โรคเบาหวาน เนื่องจากมักมีคาร์โบไฮเดรต โซเดียม ไขมัน และน้ำตาลสูง

เฟรนช์ฟรายส์ในปริมาณปานกลางให้คาร์โบไฮเดรต 47 กรัม หรือประมาณ 16% ของปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่คุณรับประทานในแต่ละวัน คาร์โบไฮเดรตจะถูกย่อยสลายเป็นน้ำตาล หากกินระยะยาวจะทำให้อ้วนและน้ำตาลในเลือดสูง คนอ้วนมักมีปัญหาเรื่องข้อต่อและกระดูกเนื่องจากน้ำหนัก และระบบทางเดินหายใจ เช่น เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม และหอบหืดตามมา

การกินอาหารจานด่วนที่มีไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์สูงอาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ เพิ่มระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี (LDL) และลดระดับคอเลสเตอรอลที่ดี (HDL) เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานประเภท 2 และโรคหัวใจ รวมถึงปริมาณน้ำตาลที่ซ่อนอยู่ในน้ำอัดลม น้ำหวาน และไอศกรีมที่เพิ่มระดับสูงขึ้น นอกจากนี้ อาหารจานด่วนอาจมีโซเดียมสูง ซึ่งอาจทำให้ท้องอืดได้ เนื่องจากร่างกายกักเก็บน้ำไว้เพื่อรักษาสมดุลของของเหลวในร่างกาย และถ้ากินมากเกินไปในระยะยาวก็สามารถเพิ่มความดันโลหิตได้ ระบบหัวใจและหลอดเลือดทำงานหนักขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง

อาหารจานด่วน (อาหาร fastfood) คือ

อาหารที่ปรุงเสร็จในเวลาอันรวดเร็ว หรือทันเวลาพอดี (Just-in-time) และพร้อมกินได้ทันที ซึ่งโดยทั่วไปคนมักจะนึกถึงแต่อาหารจานด่วนของฝรั่งจำพวก พิซซ่า ไก่ทอด แฮมเบอร์เกอร์ ฮอทดอก ฯลฯ หากความจริงแล้วอาหารไทยบางประเภท ก็ถูกจัดอยู่ในกลุ่มอาหารจานด่วนด้วยเหมือนกัน เช่น ข้าวราดแกง อาหารตามสั่งทุกชนิด ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีนน้ำยา สุกี้ เป็นต้น ซึ่งอาหารดังกล่าว ล้วนมีกรรมวิธีในการปรุงที่รวดเร็วและพร้อมกินได้เลย
อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่มีประโยชน์ครบถ้วนมากนัก หากรู้จักเลือกกินให้เหมาะสมก็พอจะให้คุณค่าทางโภชนาการอยู่บ้าง โดยเฉพาะอาหารจานด่วนของไทย

อาหารขยะ (Junk Food) คือ

อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการน้อย หรือแทบไม่มีเลย เรียกว่าอาหารพลังงานสูญเปล่า นอกจากจะไม่มีประโยชน์แล้ว ยังก่อให้เกิดท็อกซินสะสมในร่างกายอีกด้วย เพราะอาหารประเภทนี้มักจะมีโซเดียมหรือเกลือ น้ำตาล พลังงาน หรือไขมันอย่างใดอย่างหนึ่งในปริมาณที่สูง แต่มีสารอาหารประเภทโปรตีน วิตามิน เกลือแร่น้อยมาก เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป น้ำอัดลม ขนมขบเคี้ยวกรุบกรอบ ลูกอม หมากฝรั่ง โดนัท ไอศกรีม ขนมหวานต่าง ๆ รวมทั้งอาหารที่ทอดด้วยความร้อนสูงอย่างมันฝรั่งทอดกรอบ ฉะนั้นการกินเป็นประจำ หรือกินปริมาณมาก จะก่อโทษกับร่างกายได้หลากหลายโรคที่แฝงมากับความเร็ว ได้แก่

  • โรคอ้วน ผลเสียที่เห็นได้อย่างชัดเจนจากการกินอาหารจานด่วน คือน้ำหนักเพิ่มขึ้น และเมื่อกินบ่อย ๆ ก็จะก่อให้เกิดโรคอ้วน และอีกสารพัดโรคตามมา
  • โรคกระดูกข้ออักเสบ น้ำหนักส่วนเกินจากการสะสมไขมัน และน้ำตาล จะทำให้กระดูกสันหลัง ข้อสะโพก และข้อเข่าล้า และมีผลทำให้กระดูกอ่อนเสื่อมสภาพ ช่องข้อต่อจะหดแคบลง และกระดูกข้อต่อจะบดทับกัน
  • โรคหัวใจ เมื่อกินอาหารที่มีไขมันบ่อย ๆ จะทำให้มีคอเลสเตอรอลสูง ซึ่งอาจทำให้มีการสะสมลิ่มเลือดในหลอดเลือดแดง
    ความดันโลหิตสูง ความเค็มปริมาณสูงจากอาหารดังกล่าว หากสะสมในร่างกายเยอะ ๆ จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิต และโรคไตค่อนข้างสูง
  • โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ คนที่กินอาหารดังกล่าวเป็นประจำ มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เนื่องจากการสะสมไขมัน โดยเฉพาะบริเวณหน้าท้อง
  • โรคตับ การสะสมไขมันในตับ อาจทำให้เกิดโรคตับแข็งได้
  • โรคเบาหวาน ผู้ที่มีไขมันในร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณหน้าท้องมากเกินไป มักเกิดภาวะต้านอินซูลิน ทำให้มีการสะสมกลูโคสในร่างกาย ซึ่งส่งผลให้เป็นโรคเบาหวานได้ และภาวะแทรกซ้อนประการหนึ่งคือการทำลายหลอดเลือดในจอตา อันจะทำให้ตาบอดได้
  • ภาวะไขมันในเลือดสูง คนที่กินอาหารดังกล่าวเป็นประจำ จะมีระดับไขมันในเลือดมากกว่าคนที่ไม่ได้กิน และมีโอกาสเป็นเส้นเลือดในสมองอุดตัน 

อาหาร fastfood ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพในด้านอื่น ๆ

  • ท้องอืด เนื่องจากมีปริมาณคาร์โบไฮเดรต โซเดียม และไขมันสูง อีกทั้งการดื่มน้ำอัดลมควบคู่กับฟาสต์ฟู้ดอาจยิ่งทำให้ท้องอืดมากขึ้น
  • ท้องผูก เพราะคาร์โบไฮเดรตใน อาหาร fastfood เป็นชนิดที่ผ่านการขัดสีและแปรรูป ทำให้มีใยอาหารต่ำ อาจทำให้ท้องผูก และเสี่ยงต่อการเกิดโรคริดสีดวงทวาร
  • อาจทำให้อ่อนเพลียและหงุดหงิด การรับประทานคาร์โบไฮเดรตขัดสีและน้ำตาลที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะไปกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งอินซูลินปริมาณมากเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดอย่างรวดเร็วตามไปด้วย การเพิ่มและลดน้ำตาลอย่างรวดเร็วนี้เองอาจทำให้รู้สึกเหนื่อยและหงุดหงิด
  • อารมณ์แปรปรวน การรับประทาน Fast Foods ทำให้ร่างกายไม่ได้รับวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปรับอารมณ์ให้ดีขึ้น และอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้า
  • กระตุ้นการเกิดสิวและโรคผิวหนังอักเสบ(Eczema) การรับประทาน Fast Foods ที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงที่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอาจทำให้เกิดสิว
อาหาร fastfood ผลเสีย

รับประทาน Fast Foods อย่างไรให้ไม่เสียสุขภาพ

  • เลือกเมนูอบหรือย่างแทนเมนูทอดที่ใช้น้ำมันปริมาณมาก เช่น เปลี่ยนจากไก่ทอดเป็นไก่อบ เนื้อไม่ติดมัน หรือปลาย่าง
  • เปลี่ยนเครื่องเคียงจากเฟรนช์ฟรายส์ที่มีไขมัน คาร์โบไฮเดรต และโซเดียมสูง เป็นสลัดผักที่ใส่น้ำสลัด
  • หลีกเลี่ยงเมนูที่ราดครีมซอสหรือมายองเนสที่มีไขมันสูง
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลและแคลอรี่สูง เช่นน้ำอัดลม ชา และน้ำผลไม้ โดยเลือกดื่มน้ำเปล่า ชา หรือน้ำอัดลมแบบไม่มีน้ำตาลแทน
  • หากต้องการรับประทานของหวาน ควรเลือกผลไม้สดหรือไอศกรีมซอร์เบท (Sorbet) ที่ไม่ผสมนมแทนการรับประทานไอศกรีมนมที่อาจมีน้ำตาลและไขมันสูง

อาหารจานด่วนไม่ใช่ของใหม่ มาก่อน ‘ฟาสต์ฟู้ด’

เมื่อพูดถึง ‘อาหารจานด่วน’ คนไทยทั่วไปอาจเข้าใจว่าเป็นอาหารจำพวกเดียวกับ ‘ฟาสต์ฟู้ด’ คือเป็นอาหารที่ปรุงและทำเสร็จภายในเวลาอันรวดเร็ว บริโภคได้ทันที และเป็นนวัตกรรมการทำอาหารยุคใหม่ที่เพิ่งปรากฏขึ้นเมื่อไม่นานนี้เอง แต่ผมอยากเสนอว่าอาหารจานด่วนและฟาสต์ฟู้ดมิใช่สิ่งเดียวกัน แม้ว่าทั้งคู่จะมีบางสิ่งบางอย่างคล้ายกันก็ตาม เพราะความเป็นมาและเงื่อนไขทางสังคมและเศรษฐกิจที่สัมพันธ์กับอาหารทั้งสองชนิดมีความแตกต่างกันมาก

สำหรับผม อาหารจานด่วนที่คนไทยและคนในสังคมอื่นอีกหลายสังคมรู้จักคุ้นเคยและนิยมบริโภคมักเป็น ‘อาหารจานเดียว’ ที่มีส่วนประกอบของอาหารหลายชนิด ปรุงและทำเสร็จในจานเดียวกัน บริโภคได้ทันที และไม่ต้องกินกับกับข้าวที่ปรุงและทำแยกต่างหากเป็นจานๆ (แต่ ‘อาหารจานเดียว’ อาจไม่ใช่ ‘อาหารจานด่วน’ เสมอไป – จะกล่าวถึงเรื่องนี้อีกครั้งในตอนหน้า)

ตัวอย่างอาหารจานด่วนที่คนไทยทั่วไปคุ้นเคยอาจเป็น ‘ข้าวกะเพรา’ ข้าวราดใบกะเพราที่ผัดกับเนื้อไก่ หมู หรือเนื้อวัว ซึ่งทำได้ง่าย รวดเร็วและเป็นที่นิยมกันอย่างยิ่ง หรือข้าวผัดชนิดต่างๆ ที่มักมีผัก เนื้อสัตว์และไข่ไก่เป็นส่วนประกอบหลัก หรืออาจเป็น ‘ข้าวแกง’ ที่เป็นข้าวสวยราดด้วยแกงชนิดต่างๆ หรือกับข้าวอื่นๆ บางคนอาจนึกถึง ‘ขนมจีน’ ที่มีน้ำยาให้เลือกหลายอย่าง รวมถึงอาหารจานเดียวอย่างข้าวซอย ขนมจีนน้ำเงี้ยว หรือแม้แต่ข้าวเหนียวนึ่งร้อนๆ กินกับหมูปิ้ง บางคนก็อาจจะชอบหมูทอด ไก่ย่างหรือไก่ทอดมากกว่า

ส่วนผมที่เติบโตมาในชุมชนชาวจีนอพยพ อาหารจานด่วนที่คุ้นเคยและชอบมากมักเป็น ‘อาหารเส้น’ เช่น ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลาหรือลูกชิ้นแคะที่มีเต้าหู้เป็นหนึ่งในส่วนประกอบหลัก บะหมี่หมูแดง เกี๊ยวน้ำ เย็นตาโฟ ก๋วยจั๊บ ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า ก๋วยเตี๋ยวผัดซีอิ๊ว หรืออาจเป็นข้าว เช่น ข้าวมันไก่ ข้าวขาหมู ข้าวหมูแดง ฯลฯ

burgers-sandwiches

ความแตกต่างที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ พัฒนาการของฟาสต์ฟู้ดเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับการโฆษณาที่มีจุดมุ่งหมายในการผลิตและขายสินค้าเป็นจำนวนมาก โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่ผู้คนที่เดินทางสัญจรไปมาเพื่อประกอบอาชีพ เรียนหนังสือ หรือทำธุระอื่นๆ (จะพูดว่าต้องทำงานแข่งกับเวลาก็อาจไม่ผิดนัก) ไม่มีเวลานั่งกินที่ร้านอาหาร

เนื่องจากลูกค้าต้องการความเร็วในการซื้ออาหารและความสะดวกในการนำอาหารติดตัวไปกินที่อื่น ฟาสต์ฟู้ดจึงเป็นอาหารจานด่วนที่ส่วนประกอบของอาหารส่วนใหญ่ถูกเตรียมและทำสุกไว้แล้ว อย่างเบอร์เกอร์แม็คฯ ก็มีขนมปัง เนื้อสับที่สุกแล้วแช่แข็งไว้ ผักที่พร้อมบริโภค เมื่อมีลูกค้าสั่งก็แค่ทำให้เนื้อสับร้อนแล้ววางลงบนขนมปังพร้อมกับผักที่เตรียมไว้ ก็จะได้เบอร์เกอร์ที่กินได้ทันทีเสิร์ฟให้ลูกค้า (ผมจะกล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับฟาสต์ฟู้ดอีกครั้งในตอนหน้า)

เลือกอาหาร 'จานด่วนแบบไทยๆ' ห่างไกลหัวใจพิบัติและอัมพาต

ในสภาพปัจจุบันของโลกสากล ประเทศทั้งหลายต่างไร้พรมแดนเพราะมีการติดต่อสื่อสารที่เป็นช่องทางการหลั่งไหลถ่ายเททางวัฒนธรรมทั่วทุกสารทิศ มีผลทำให้รูปแบบการบริโภคของคนไทยเปลี่ยนไป ซึ่งส่งผลกระทบเกิดเป็นปัญหาสุขภาพที่ติดตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เกิดปัญหาโภชนาการเกินและปัญหานี้เริ่มทวีความรุนแรงเห็นได้จาก ปัญหาภาวะน้ำหนักเกิน และโรคอ้วนกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในทุกเพศทุกวัย ซึ่งสาเหตุของปัญหาเกิดจากการกินอาหารที่ไม่ถูกต้องสารอาหารไม่สมดุล

นอกจากปัญหาโรคอ้วนยังมีภาวะที่เป็นปัจจัยทำให้เสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังภาวะดังกล่าว ได้แก่ ความดันโลหิตสูง ไขมัน ในเลือดสูง น้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเรียกภาวะ 4 อย่างนี้ว่า กลุ่มอาการเมตาบอลิก หรือโรคอ้วนลงพุงซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด !!

อาหารฟาสต์ฟู้ดกับบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

อาหารฟาสต์ฟู้ด คืออาหารที่ปรุงไว้แล้วเป็นอาหารจานด่วนที่สามารถเสิร์ฟหรือรับประทานได้เลย หรือนำไปอุ่นให้ร้อนในไมโครเวฟก็พร้อมรับประทาน หาซื้อได้ง่ายไม่ว่าจะเป็นร้านสะดวกซื้อหรือร้านรถเข็น ตามศูนย์อาหารทั่วไป สำหรับความสำคัญของอาหารฟาสต์ฟู้ด กับบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก เมื่ออาหารเมนูด่วนเหล่านี้เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ทำให้อาหารฟาสต์ฟู้ด เป็นธุรกิจสร้างขยะให้กับโลกอย่างน่าตกใจ เพราะส่วนใหญ่มักใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายยาก และใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น พลาสติก โฟม ซึ่งกว่าจะย่อยสลายจนหมด ก็ใช้เวลานาน ปัจจุบันจึงมีการออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกหลายประเภท ที่เหมาะกับการนำไปใช้กับอาหารฟาสต์ฟู้ดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และปลอดภัยต่อผู้บริโภค มีอะไรบ้าง เช่น

  • ซองกระดาษ สีขาว เปิดข้าง เคลือบ PE ผลิตจากวัสดุที่เป็นะรรมชาติ คือ กระดาษขาวในแบบ food grade กันมันซึม ใช้สำหรับใส่แฮมเบอร์เกอร์ ของทอด ขนมปังชิ้นเล็ก สามารถนำสติ๊กเกอร์ติด / ปั้มตราแบรนต์ตัวเองได้ เพื่อเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว วัตถุดิบกระดาษที่ใช้ ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่เปื่อยยุ่ยง่าย หน้ากระดาษเนียน ไม่มีจุดสกปรก ถุงกระดาษเปิดข้าง ปากถุงตัดตรงควรใช้เพียงเดียว
  • กล่องพิซซ่าสี่เหลี่ยม ขนาด 6 นิ้ว 17 x 17 x 3.7 ซม. สำหรับใส่ บราวนี่ พิซซ่าหลายๆชิ้น เกี๊ยวซ่า หรือจะเป็นอารทะเลก็ย่อมได้เหมาะกับผู้ประกอบการร้านพิซซ่า กระดาษสามารถย่อยสลายตามธรรมชาติ 100% น้ำหนักกล่องเบา แข็งแรงด้วยสูตรการผลิตลูกฟูกแบบพิเศษ
  • กล่องหมูทอด (Size S) ขนาดเดียวกับร้าน เมตตาหมูทอด สำหรับใส่ไก่ทอด หมูทอด หรืออาหารประเภททอด กระดาษสามารถย่อยสลายตามธรรมชาติ 100% น้ำหนักกล่องเบา แข็งแรงด้วยสูตรการผลิตลูกฟูกแบบพิเศษ